พระราชประวัติรัชกาลที่ 10
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(สนช. กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อเวลาประมาณ 11:00 น. วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559) และ สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีปัญญาสมวาร ร.9 (เป็นทางการแล้ว) พร้อมประกาศให้เรียกพระนามใหม่ ร.10 “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ได้ตั้งแต่ 2 ธ.ค. นี้ เป็นต้นไป
พระราชสมภพ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมารเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสยามกุฎราชกุมารพระองค์แรกในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี พระนามเดิมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ทรงผนวช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.00 น. ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาลผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช
พระราชกรณียกิจ
ด้านทหาร
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้าเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบก กระทรวงกลาโหม วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่องด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกจะทำได้ พระองค์ทรงพระกรุณาปฎิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ ๕ อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตระวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ้งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตระวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ้งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง
พระอัจฉริยภาพ
ด้านเกษตรกรรม
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกรณียกิจทางด้านการเกษตรมากมาย พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านนี้มาก สืบเนื่องมาจากตามแนวพระราชกรณียกิจทางด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อาทิ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์ การทำนา พันธ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักให้ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง และยังมีโครงการเกษตรวิชญา จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความสนับสนุนด้านข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (สำนักงาน กปร.) พระองค์ทรงมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่บ้านกองแหะ หมู่ 4ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้พระราชทานชื่อใหม่ให้โครงการฯ จากชื่อเดิม คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สวนบ้านกองแหะ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการเกษตรวิชญา โครงการตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง เป็นพื้นที่ส่วนราชการ 138 ไร่ โดยเป็นที่ตั้งของอาคารศูนย์เรียนรู้ฯ อาคารฝึกอบรม และอาคารศูนย์อภิบาลเด็กสายใยรักจากแม่สู่ลูก รวมถึงแปลงสาธิตจุดเรียนรู้การพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่ทรงงาน 32 ไร่ ส่วนที่สาม เป็นพื้นที่พัฒนาการเกษตร 139 ไร่ โดยขณะนี้มีเกษตรกรใช้ประโยชน์จากที่ดินเดิมจำนวน 60 ราย มีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูปรับปรุงดิน พัฒนาแหล่งน้ำ ส่งเสริมอาชีพ และเป็นศูนย์เรียนรู้ ส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่วนเกษตรและธนาคารอาหารชุมชน 123 ไร่ มีการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมพัฒนาพืชสมุนไพร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติให้ชุมชนมีส่วนร่วม ส่วนที่ห้า เป็นส่วนสุดท้าย คือ พื้นที่ป่าไม้ 918 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ที่ได้รวมกับกรมป่าไม้ในการอนุรักษ์ป่าไม้ตามธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววนเกษตร ที่จัดให้เป็นเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
พระราชดำรัส
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ
“…บุคคลผู้รู้จักประมาณตน คือ รู้ชัดถึงฐานะ ความรู้ ความสามารถของตนตามเป็นจริงแล้วประพฤติตนปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับศักยภาพของตน ย่อมดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานให้ประสบความสำเร็จและความเจริญอันยั่งยืนได้ไม่มีตกต่ำ บัณฑิตไม่ว่าจะปฏิบัติการใดจึงควรต้องรู้จักประมาณตน…”
พระราโชวาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏ
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 (ภาคบ่าย)
โครงการในพระราชดำริ
โครงการเกษตรวิชญา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานที่ดิน ส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชนเป็นศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่
ความคิดเห็นส่วนตัว
หนูมีโอกาสได้อยู่ในแผ่นดินของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ทำให้หนูได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองไปตามยุคตามสมัยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความเจริญมากขึ้น พระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์
เป็นหัวใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน
ที่มา:http://news.sanook.com/2098550/
** ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน **