วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ


ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ




เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ว่า

“… ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้จะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ และหมู่นี้ก็พูดกันอย่างเสียขวัญเสียว่าอีกหน่อยต้องปันส่วนน้ำหรือต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ดังนั้น ต้องหาแนวทางแก้ไขซึ่งปัญหานี้ต้องวางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติในวันนี้ เราก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำโครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี และโครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนกว่าแล้วที่นราธิวาส ได้วางโครงการและแม้เป็นโครงการที่ไม่ได้แก้ปีนี้ หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างไรดีประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนในกรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง อาจจะนึกว่า ๕-๖ ปี นั้นนาน ความจริงไม่นานและระหว่างนี้เราก็พยายามแก้ไขเฉพาะหน้าไปเรื่อย แต่ถ้ามีความหวังว่า ๕-๖ ปี ปัญหานี้คงหมดไปก็คงมีกำลังใจที่จะฟันฝ่าชีวิตต่อไป

ที่ว่า ๕-๖ ปีนี้ ความจริงได้เริ่มโครงการนี้มากกว่า ๕-๖ ปี โครงการที่คิดจะทำนี้บอกได้ ไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้วเพราะเดี๋ยวจะมีการคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญจากผู้ที่ต่อต้านการทำโครงการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้าเราก็สบาย แต่ถ้าไม่ทำในอีก ๕-๖ ปีข้างหน้าราคาค่าสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปไม่ได้ทำ เราก็ต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราก็จะอพยพไปที่ไหนไม่ได้ โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือแม่น้ำป่าสัก อีกแห่งคือ แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียงสำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้ สำหรับการใช้น้ำนั้นต้องทราบว่าแต่ละคนใช้อยู่อย่างสบายพอสมควร โดยเฉลี่ยวันหนึ่งใช้คนละ ๒๐๐ ลิตร ถ้าคำนวณดูว่าวันละ ๒๐๐ ลิตรนี้ ๕ คน ก็ใช้ ๑,๐๐๐ ลิตร คือหนึ่งลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าปีหนึ่งคูณ ๓๖๕ ก็หมายความว่า ๕ คนใช้ในหนึ่งปี ๓๖๕ ลูกบาศก์เมตร ในกรุงเทพฯ และในบริเวณใกล้เคียงนี้เรานับเอาคร่าวๆ ว่ามี ๑๐ ล้านคน ๑๐ ล้านคนก็คูณเข้าไปก็เป็น ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นเราเก็บกัก ๗๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตรในเขื่อนเราก็สามารถที่จะบริการคนในละแวกนี้ คนในภาคกลางใกล้กรุงเทพฯ นี้ได้ตลอดไป แล้วก็ไม่มีความขาดแคลน เขื่อนป่าสักที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียวก็พอสำหรับการบริโภคแน่นอน ไม่แห้ง ถ้าเติมอีกโครงการที่นครนายกจะได้อีก ๒๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เกินพอ... ”

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พื้นที่ของโครงการมีทั้งสิ้น ๑๐๕,๓๐๐ ไร่ ซึ่งมีรายละเอียดังนี้

•  จังหวัดลพบุรี มีทั้งสิ้น ๙๖,๖๕๘ ไร่ ครอบคลุม ๓ อำเภอได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล 

    •  จัหวัดสระบุรี มีทั้งสิ้น ๘,๖๔๒ ไร่ คือ อำเภอวังม่วง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินชนิดมีแกนดินเหนียวยาว ๔,๘๖๐ เมตร สูง ๓๑.๕๐ เมตร ระดับน้ำกักเก็บสูงสุด +๔๓.๐๐ ม.รทก. เก็บน้ำได้ ๙๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร
งบประมาณการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น ๑๙,๒๓๐.๗๙๐๐ ล้านบาท




ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สามารถแยกออกได้ดังนี้

ทางด้านประชากร ต้องมีประชากรจาก ๒ จังหวัดรวม ๔ อำเภอ คือ จังหวัดลพบุรีได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดสระบุรี ได้แก่ อำเภอม่วง

ทางด้านสิ่งปลูกสร้างสารธารณะ มีถนนถูกน้ำท่วม ๒ สาย คือ อำเภอชัยบาดาล-อำเภอสนธิ และอำเภอชัยบาดาล – อำเภอด่านขุนทด ส่วนเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีแก่งเสือเต้น-สถานีสุรนารายณ์ และ สายแก่งคอย-บัวใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน วัด ส่วนราชการ และธุรกิจเอกชน

ทางด้านสิ่งแวดล้อม มีแหล่งโบราณคดี ๓๓ แห่ง และวัฒนธรรมชุมชนไทยเบิ้ง รวมทั้งพื้นที่ป่าไม้แต่เป็นไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

จากผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันให้ความร่วมมือให้ความช่วยเหลือราษฏรในเขต ๒ จังหวัด ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค ด้านไฟฟ้า ถนน น้ำประปา ตลอดจนได้สร้างวัด โรงเรียน และสถานีอนามัย สถานีตำรวจ ทดแทนของเดิมให้กับพื้นที่ชุมชนใหม่ พร้อมทั้งจัดการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ทั้งการเกษตร การประมง การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น สอนการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร การทำดอกไม้จันทน์และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด และการทอผ้าด้วยกี่กระตุก





ประโยชน์จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

1. เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค บริโภค

2. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม  

3. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

4. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

5. ช่วยป้องกันอุทกภัย                                         








ที่มาของเว็บ
http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=content&type=view&cat=17&id=195










วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง


ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
           นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่อง ก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน         การ สื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆเป็น ช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วย ท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย

ความหมายของการสื่อสาร
            คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่มีความแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
      การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมาย ถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและ ได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก
ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยส่งผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
      การสื่อสารข้อมูล (datacommunication) หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication) เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล
    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ ดังนี้




1. ข่าวสาร (message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร
2. ผู้ส่ง (sender) เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่อง โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม เป็นต้น
3. ผู้รับ (receiver) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ โมเด็ม จานดาวเทียม เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
4. สื่อกลางหรือตัวกลาง (media) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น
5. โพรโตคอล (protocol) เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกัน และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

6. ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Windows XP/Vista/7, Unix , Internet Explorer , Windows Live Message เป็นต้น


การสื่อสารข้อมูล

           ใน ปัจจุบันการสื่อสารข้อมูล มีบทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้งานโดยส่งผ่านสื่อ กลางต่างๆ ซึ่งสื่อกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล       
       
          แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้


1) การสื่อสารทางกายภาพ (physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
ข้อมูลโดยอาศัยสายสัญญาณเป็นสื่อกลางในระบบสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างสายสัญญาณมีดังนี้
       1.1) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบ ด้วยลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกจำนวน 4 คู่ แต่ละคู่พันเป็นเกลียว ซึ่ง 2 คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร 1 ช่องทาง สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่เป็นมาตรฐานใช้ส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ใน ระยะเวลานาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ (telephone line) เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์

      1.2) สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบ ด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายตีเกลียวคู่ประมาณ  80 เท่า ส่วนใหญ่จะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์
              
      1.3) สายใยแก้วนำแสง (fiberotic cable) ประกอบ ด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็กซึ่งหุ้มด้วยฉนวนหลายชั้นโดยกรส่งข้อมูลใช้หลักการ สะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,000 เท่าของสายตีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเบาและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเชียล


2) สื่อกลางไร้สาย (wireless media) เป็น การเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับ และผู้ส่งข้อมูลแต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย มีดังนี้
      2.1) อินฟราเรด (infrared)  เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแลงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลระยะไม่ไกล การส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง เช่น โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น

      2.2) คลื่นวิทยุ(radio wave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง อุปกรณ์พิเศษนี้เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำ หน้าที่รับและส่งสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเข้าถึงเว็บไซต์ได้ เป็นต้น          
         ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ (bluetooth) ซึ่ง เป็นการส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น  การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยีบลูทูธได้รับความนิยมสูง จึงมีการนำมาบรรจุไว้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องพีดีเอ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น

       2.3) ไมโครเวฟ(microwave) เป็น การสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูง สามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้ สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ นิยมใช้ในการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สำหรับการสื่อสารระยะไกลๆ ต้องใช้สถานีรับและขยายสัญญาณ ซึ่งมีลักษณะเป็นจานหรือเสาอากาศเพื่อรับส่งสัญญาณเป็นทอดๆ โดยติดตั้งบนพื้นที่สูงๆ เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น

      2.4) ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น  จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่เหนือผิวโลกทำหน้าที่ เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ถ้าเป็นลักษณะการส่งจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิงค์ (uplink) เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่






วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร



โครงการเศรษฐกิจพอเพียง 

 โครงการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีมากมายจนไม่อาจนำมาให้ชมจนหมดได้เราจะนำมาเฉพาะโครงการที่สำคัญๆ พอให้ได้เป็นแนวทางตัวอย่าง พอได้ศึกษาหลักการและแนวความคิด ดังที่จะกล่าวดังต่อไปนี้


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม 






พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง

   เป็นพระราชดํารัสที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงินวิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย 



โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 



โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ยอนฯ จ. ลำปาง




วัตถุประสงค์ของโครงการ :      
      
  เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้งของราษฎรบ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ 1 จำนวน 175 ครัวเรือน ประชากร 611 คน และบ้านแม่วะ หมุ่ที่ 3 จำนวน 237 ครัวเรือน ประชากร 761 คน รวมทั้งสิ้น 412 ครัวเรือน ประชากร 1,372 คน 


โครงการสหกรณ์สันกำแพง จ. เชียงใหม่




วัตถุประสงค์โครงการ :
          1.  เพื่อให้แปลงสาธิต  85  ไร่  เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแหล่งสาธิตการเรียนรู้ด้านประมงให้กับสมาชิก  และบุคคลที่สนใจ  เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง
           2.  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก  ให้สามารถอยธ่ได้อย่างพอเพียง
           3.  เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งนำให้เพิ่มมากขี้น


โครงการฝายคลองช่องเรือ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดปัตตานี




วัตถุประสงค์โครงการ :
         เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความ
เดือดร้อนจํานวน 
หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ บ้านใหญ่ หมู่ที่ บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ บ้านทรายขาวออก
หมู่ที่ 
บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร
 

โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอหนองปรือจังหวักาญจนบุรี




วัตถุประสงค์ 

          1เพื่อดำเนินการบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมที่มีความอุดมสมบูรณ์โดยการแบ่งแยกพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูสภาพป่า เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร การจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ส่วนกลาง ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่าง 
          2. เพื่อดำเนินการจัดระเบียบชุมชน ให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการจัดสรรไว้แล้วอย่างเหมาะสมและถูกต้อง
          3. เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ให้ราษฎรได้อาศัยทำกินในลักษณะพึ่งตนเอง ควบคู่ไปกับการบริหารทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน
          4. เพื่อดำเนินการตามแนวคิดเรื่อง บวร” (บ้าน วัด ราชการ และโรงเรียนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตไทยด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุก  ฝ่าย





พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปสีดํา ไว้อาลัย